การละเมิด คือการกระทำที่ส่งผลด้านลบแก่เด็กหรือผู้ที่ถูกละเมิด ซึ่งสามารถเกิดจากผู้ใหญ่ใกล้ตัว, สมาชิกในครอบครัว, เพื่อนบ้าน, คนในชุมชน, คนแปลกหน้า, เจ้าหน้าที่รัฐ, เจ้าหน้าที่เอกชน หรือแม้แต่เด็กด้วยกัน โดยการละเมิดดังกล่าว แบ่งออกเป็น 7 ประเภท
- การละเมิดทางด้านร่างกาย (Physical Abuse) หมายถึง การทำร้ายร่างกาย เช่น การทุบ การตบ การสาดน้ำร้อนใส่ หรือการใช้ไฟลวก
- การละเมิดทางเพศ (Sexual Abuse) หมายถึง การกระทำที่ไม่เหมาะสมทางเพศกับเด็ก เช่น การสัมผัสอวัยวะต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสมภายใต้ร่มผ้า การบังคับให้เด็กสัมผัสอวัยวะเพศ การแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็ก การบังคับหรือล่อลวงเด็กให้มีกิจกรรมทางเพศและการเผยแพร่สื่ออนาจารให้กับเด็ก
-
การละเมิดทางด้านวาจาและอารมณ์ (Verbal and Emotional Abuse) หมายถึง การใช้คำพูด ถ้อยคำดูหมิ่นเหยียดหยาม รวมทั้งการนำข้อมูลที่เป็นความลับของเด็กมาเปิดเผย
-
การละเมิดปล่อยปละละเลย / เพิกเฉย (Neglect) หมายถึง การที่ผู้ปกครองของเด็กหรือผู้ดูแลเด็ก ไม่สนใจหรือไม่กระทำในสิ่งที่ควรทำ ไม่จัดหาและสนับสนุนสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานให้กับเด็ก เช่น อาหารที่ครบ 5 หมู่ เสื้อผ้าที่สะอาด ที่พักที่ปลอดภัย ยารักษาโรค และการศึกษาที่เหมาะสมต่อพัฒนาการของเด็ก รวมไปถึงการที่เด็กถูกทอดทิ้งในสภาวะเสี่ยง เช่น เด็กถูกปล่อยให้ป่วยโดยไม่ได้รับการรักษาใดๆ
-
การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (Violation of Children's Privacy) หมายถึง การไม่รักษาข้อมูล รักษาความลับของเด็ก โดยการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของเด็กให้กับสาธารณชน หรือผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง
ㆍแชร์หรือเผยแพร่ ข้อมูล รูปกาพ คลิปวิดีโอ และอื่น ๆ ของเด็ก ที่เป็นประเด็นอ่อนไหว (Sensitive Information) รวมถึง ข้อมูลตัวตนของเด็ก เช่น ภูมิหลังของเด็กและครอบครัวดั้งเดิม, ประวัติการรักษาทางการแพทย์ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เป็นต้น
ㆍกรณีหากมีความจำเป็นต้องนำข้อมูลไปใช้เพื่อประโยชน์ของเด็ก จะต้องได้รับการยินยอมจากเด็กและผู้ปกครองก่อน
-
การกลั่นแกล้ง (Bullying) การข่มขู่ แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ล่วงละเมิดทางวาจาต่อผู้อื่น รวมถึงการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต ข่มขู่ คุกคาม เช่น ส่งข้อความ โพสต์ในโซเชียล
-
การละเมิดเด็กทางการเงิน (Financial Abuse) การลักทรัพย์ ทำให้เด็กสูญเสียทรัพย์ที่พึงได้ เช่น เงินรายวัน เบี้ยเลี้ยง เงินบริจาคอุปถัมภ์ที่เป็นส่วนของเด็ก